วันอังคารที่ 26 สิงหาคม พ.ศ. 2551

ตัวเมืองกำแพงเพชรเก่า
ตัวเมืองกำแพงเพชรเก่า ตั้งอยู่ในเขตตำบลหนองปลิง และตำบลในเมือง มีกำแพงศิลาแลงชั้นเดียวสูงประมาณ 5 เมตร มีป้อม 10 ป้อม คูเมืองกว้าง 30 เมตร กำแพงด้านทิศตะวันตกเฉียงเหนือยาว 220 เมตร ด้านทิศตะวันออกเฉียงใต้ยาว 540 เมตร ด้านทิศตะวันออกเฉียงเหนือยาว 2,403 เมตร ทิศตะวันตกเฉียงใต้ยาว 2,150 เมตร มีประตูเมือง 10 ประตู ภายในกำแพงเพชร และบริเวณใกล้เคียงมีโบราณสถานที่น่าชมหลายแห่ง
.........................................................
สระมน
สระมน หรือบริเวณวังโบราณ ด้านเหนือวัดพระแก้วมีกำแพงดินสี่เหลี่ยมอยู่เกือบติดกำแพงเมืองด้านเหนือ ภายในกำแพงมีคูล้อม 3 ด้าน ตรงกลางขุดสระมน เป็นที่เข้าใจว่าบริเวณสระมนนี้เป็นวัง ส่วนปราสาทราชฐานไม่มีเหลืออยู่เลย เมื่อขุดลอกสระแล้วตกแต่งบริเวณ พบฐานศิลาแลงบางตอนและได้พบกระเบื้องมุงหลังคาตกหล่นอยู่ทั่วไป
.........................................................
พิพิธภัณฑสถาน จังหวัดกำแพงเพชร เฉลิมพระเกึยรติ
พิพิธภัณฑสถาน จ.กำแพงเพชรเฉลิมพระเกียรติ เป็นสถานที่แสดงผลงานของศูนย์บริรักษ์ไทยและศูนย์จริยศึกษา จำหน่ายผลิตภัณฑ์ศิลปหัตถกรรมพื้นเมืองของจังหวัด ผลิตภัณฑ์ชาวเขาและกลุ่มแม่บ้าน ภายในตัวอาคารจัดเป็นห้องโสตทัศนูปกรณ์ที่ทันสมัยประกอบด้วยระบบภาพแสงและเสียง ในระบบมัลติมีเดีย การแสดงนิทรรศการด้วยระบบคอมพิวเตอร์ สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ โทร. (055) 722341-2


.........................................................
พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติกำแพงเพชร
พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติกำแพงเพชร ตั้งอยู่ที่ถนนปิ่นดำริห์ อ.เมือง เป็นที่แสดงโบราณวัตถุและศิลปวัตถุสมัยต่าง ๆ ที่ขุดค้นพบในเมืองกำแพงเพชร และที่มีผู้มอบให้เพื่อเป็นสมบัติของพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ โบราณวัตถุส่วนมากเป็นลวดลายปูนปั้นและลวดลายดินเผา เศียรพระพุทธรูป เครื่องสังคโลก ปูนปั้นรูปยักษ์เทวดา และมนุษย์ซึ่งใช้ประดับฐานเจดีย์ หรือติดตั้งวิหาร ผู้สนใจสามารถเข้าชมได้ในเวลาราชการทุกวัน เว้นวันจันทร์ วันอังคาร และวันหยุดนักขัตฤกษ์ ตั้งแต่เวลา 09.00-16.00 น. ค่าเข้าชมชาวไทย 10 บาท ชาวต่างประเทศ 30 บาทสอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมติดต่อ โทร. (055) 711570

.........................................................
ศาลพระอิศวร
ตั้งอยู่ด้านหลังศาลจังหวัด เป็นฐานก่อด้วยศิลาแลงรูปสี่เหลี่ยมยกพื้นสูง 1.5 เมตร มีบันไดขึ้นด้านหน้า บนฐานชุกชีอยู่เป็นที่ตั้งของเทวรูปพระอิศวรสัมฤทธิ์ ซึ่งจำลองขึ้นในสมัยที่นายเชาวน์วัศ สุดลาภาเป็นผู้ว่าราชการจังหวัด เทวรูปพระอิศวรองค์จริงปัจจุบันตั้งแสดงอยู่ในพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติกำแพงเพชร รูปพระอิศวรนี้ ในสมัยรัชการที่ 5 ชาวเยอรมันมาเที่ยวเมืองกำแพงเพชร ได้ลักลอบตัดเศียรและพระหัตถ์ส่งลงเรือมากรุงเทพฯ เมื่อ พ.ศ. 2429 เจ้าเมืองกำแพงเพชรได้บอกเข้ามายังกรุงเทพฯจึงโปรดฯ ให้ขอพระเศียรและพระหัตถ์คืน และได้ทรงสร้างพระอิศวรจำลองประทานให้ ซึ่งปัจจุบันตั้งแสดงในพิพิธภัณฑ์กรุงเบอร์ลิน
.........................................................
วัดพระแก้ว
ตั้งอยู่กลางเมืองกำแพงเพชร เป็นวัดที่สำคัญอยู่ติดกับบริเวณวังเช่นเดียวกับวัดพระศรีสรรเพชญ์ ที่จังหวัดอยุธยา หรือวัดมหาธาตุกลางเมืองสุโขทัย กำแพงวัดเป็นศิลาแลงกลมทั้งท่อนสูงประมาณเมตรเศษแผนผังของวัดเป็นรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้าขนานไปกับกำแพงเพชร กำแพงวัดขาดเป็นตอน ๆ สิ่งก่อสร้างภายในใช้ศิลาแลงเป็นส่วนใหญ่ ตรงกลางของวัดมีพระเจดีย์กลมแบบลังกาองค์ใหญ่เป็นประธาน ฐานสี่เหลี่ยม ที่ฐานทำเป็นซุ้มคูหาโดยรอบมีสิงห์ยืนอยู่ในคูหาแต่ชำรุดหมด วัดพระแก้วนี้หลังจากขุดแต่งแล้วปรากฏว่า พบฐานเจดีย์แบบต่าง ๆ กัน รวม 35 ฐาน วิหารใหญ่และเล็ก 8 วิหาร ฐานโบสถ์ 3 แห่ง ซึ่งแสดงว่าเป็นวัดใหญ่ และสำคัญมากมาก่อน ปัจจุบันงานนบพระเล่นเพลง และงานวันสารทไทยกล้วยไข่เมืองกำแพงเพชร ก็จัดให้มีขึ้นในบริเวณวัดพระแก้วแห่งนี้

.........................................................
วัดพระธาตุ
อยู่ที่ตำบลนครชุมเป็นวัดใหญ่รองจากวัดพระแก้วที่อยู่ในกำแพงเมืองกำแพงเพชรรูปทรงเป็นแบบพม่า เรียงจากวัดพระแก้วไปทางทิศตะวันออก มีเจดีย์ประธานก่อด้วยศิลาแลงปนอิฐฐานสี่เหลี่ยมกว้าง 15 เมตร วัดนี้ภายหลังจากการขุดแต่งและบูรณะเจดีย์ใหญ่ เจดีย์รวมด้านใต้แล้ว ปรากฏว่ามีลักษณะคล้ายแผนผังของวัดสระศรี ที่เมืองสุโขทัยเก่า แต่ลักษณะเจดีย์เป็นแบบกำแพงเพชร
.........................................................
วัดพระสี่อิริยาบถ
อยู่ต่อจากวัดพระนอนไปทางทิศเหนือในแนวกำแพงวัด ติดต่อกันถึงวัดพระสี่อิริยาบถ หรือที่เรียกกันเป็นสามัญว่าวัดพระยืน วัดนี้มีบ่อน้ำและที่อาบน้ำอยู่หน้าวัดเช่นเดียวกับวัดพระนอน กำแพงวัด เป็นศิลาแลงปักตั้งล้อม 4 ด้าน มีทางเข้าปูด้วยศิลาแลง มีศาลาโถงปลูกคร่อมทางเดินเป็นศาลากว้าง 6 เมตร ยาว 11 เมตร เป็นเสา 4 แถว 5 ห้อง ต่อจากศาลาหน้าวัดมีประตูเข้าไปในบริเวณวัดแล้วถึงฐานศิลาแลงใหญ่ ยกฐานสูงประมาณ 2 เมตร มีเสาลูกกรงเป็นศิลาแลงเหลี่ยมและมีทับหลังลูกกรงเตี้ย ๆ สูงประมาณ 60 เซ็นติเมตร อยู่โดยรอบ ฐานนี้มีบันไดขึ้นด้านหน้า 2 บันได ด้านข้าง 2 บันไดและด้านหลังอีก 2 บันได บนฐานวิหารกว้าง 17 เมตร ยาว 29 เมตร ย่อมุขเด็จทั้งหน้าและหลัง เสาวิหารที่อยู่บนฐานเป็นเสา 4 แถว 5 ห้อง 2 แถว หน้าและหลัง 2 ห้อง รวม 7 ห้อง ที่ฐานชุกชี มีรอยตั้งพระพุทธรูปนั่งด้านหลังวิหารมีบันไดลงติดต่อกับมณฑปพระอิริยาบถ โดยรอบมณฑปกำแพงแก้วเตี้ย ๆ เหลือแต่ฐาน มีประตูเข้าด้านข้าง 2 ข้าง และด้านหลังมณฑปกว้าง 29 เมตร เป็นมณฑปสี่หน้า ด้านหน้ามีพระพุทธรูปลีลา ด้านข้างเหนือมีพระพุทธรูปนั่ง พระพุทธรูปปูนปั้นทั้ง 3 ด้าน ที่กล่าวมาแล้วชำรุดเหลือซากพอเป็นรอยให้ดูรู้ว่าเป็นพระพุทธรูปเท่านั้น แต่ก็เป็นหลักฐานที่แสดงให้รู้ว่า เป็นพระพุทธศิลปแบบสุโขทัยสกุลช่างกำแพงเพชร ซึ่งหาดูได้ยาก (ตามรูปเลยครับ ถ่ายมาสี่อริยาบถเลย)

.........................................................
วัดช้างรอบ
เป็นวัดใหญ่ตั้งอยู่บนเนินสูง มีพระเจดีย์ใหญ่ตั้งอยู่กลางลาน ฐานเจดีย์กว้าง 31เมตร สี่เหลี่ยมที่ฐานเป็นรูปช้างครึ่งตัวเห็นแต่ 2 ขาหน้า หันศีรษะออกจากฐานรายรอบเจดีย์ เป็นช้างทรงเครื่องจำนวน 68 เชือก ระหว่างช้างมีลายปูนปั้นเป็นรูปใบโพธิ์ กับมีรอยตั้งรูปยักษ์และนางรำติดอยู่แต่ชำรุดหัก เห็นไม่สมบูรณ์ ทางขึ้นไปบนฐานทักษิณมีบันไดสี่ด้าน ตรงเชิงบันไดมีรูปสิงห์หักอยู่ที่ฐาน ฐานเจดีย์จากพื้นดินถึงลานทักษิณชั้นบนสูงประมาณ 7 เมตร กลางลานมีเจดีย์ฐานเขียงแปดเหลี่ยมฐานกว้างประมาณ 20 เมตร ลักษณะเป็นเจดีย์แบบลังกายอดหัก ด้านหน้าฐานเจดีย์เป็นวิหารใหญ่ กว้าง 17 เมตร ยาว 34 เมตร ฐานสูงประมาณ 1.5 เมตร วิหารเป็นเสา 4 แถว 7 ห้อง มีมุขเด็จข้างหน้าหนึ่งห้อง ต่อจากวิหารใหญ่เป็นสระซึ่งขุดลงไปในพื้นศิลาแลง กว้าง 23 เมตร สี่เหลี่ยมลึก ประมาณ 8 เมตร มีน้ำขังอยู่บางฤดูจากการขุดแต่งที่ฐานเจดีย์วัดช้างรอบนี้ได้พบบรรดาลวดลายต่าง ๆ เป็นดินเผารูปนางรำ รูปยักษ์ รูปหงส์ รูปหน้าเทวดา และหน้ามนุษย์ ซึ่งตามลักษณะโบราณวัตถุเป็นศิลปสมัยอยุธยาตอนต้น หรือสุโขทัยตอนปลายทำให้ทราบลักษณะเครื่องแต่งตัว การฟ้อนรำและลักษณะอื่น ๆ ของคนสมัยสุโขทัยตอนปลาย ซึ่งเป็นประโยชน์ในการศึกษาศิลปะและโบราณคดี บรรดาโบราณวัตถุที่พบนี้ บางชิ้นเก็บรวบรวมตั้งแสดงอยู่ในพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติกำแพงเพชร

.........................................................
วัดพระสิงห์
ถัดจากวัดพระสี่อิริยาบถไปทางทิศเหนือประมาณ 100 เมตร จะพบวัดพระสิงห์ซึ่งเป็นวัดขนาดย่อม ยังไม่ได้ขุดแต่งและบูรณะ สันนิษฐานว่าใช้เวลาสร้างถึง 2 สมัย คือ สมัยสุโขทัยและสมัยอยุธยา กำแพงเป็นศิลาแลงโดยรอบ ภายในเป็นฐานเจดีย์มีซุ้มพระ 4 ทิศ ฐานเจดีย์กว้าง 11 เมตรสี่เหลี่ยม มีเจดีย์ราย 4 มุม ด้านหน้าเจดีย์ใหญ่มีฐานโบสถ์กว้าง 15 เมตร ยาว 30 เมตร ตั้งอยู่บนฐานอีกชั้นหนึ่งซึ่งกว้าง 23 เมตร ยาว 42 เมตร ด้านทิศใต้มีฐานวิหารใหญ่ 1 วิหาร และขนาดย่อมอีก 1 วิหาร ภายในวัดมีบ่อน้ำ 2 บ่อ เป็นบ่อกรุด้วยศิลาแลง

.........................................................
วัดพระนอน
อยู่ห่างจากวัดป่ามืดไปทางเหนือประมาณ 150 เมตร เป็นวัดใหญ่วัดหนึ่งซึ่งได้ขุดแต่งและบูรณะไว้แล้ว วัดนี้มีกำแพงศิลาแลงปักตั้งล้อมไว้ทั้ง 4 ด้าน ด้านหน้าวัดตรงขวามือมีบ่อน้ำสี่เหลี่ยมมีน้ำขังข้าง ๆ บ่อ มีห้องอาบน้ำและศาลาน้ำ ฐานและเสาเป็นศิลาแลง ซึ่งเสานี้ตัดมาจากแหล่งกำเนิดทั้งแท่งมีขนาดกว้าง 1.1 เมตร ยาว 1.1 เมตร สูง 6.4 เมตร นับว่าเป็นศิลาแลงที่ใหญ่ที่สุดในประเทศไทย ด้านซ้ายมือเมื่อเดินไปตามทางขึ้นบริเวณลานวัดที่ปูด้วยศิลาแลงถึงหน้าประตูวัด จะพบเศษรูปสิงห์ปูนปั้นซึ่งขุดค้นได้วางอยู่หน้าโบสถ์ ฐานโบสถ์เป็นศิลาแลงยกพื้นสูง 80 เซ็นติเมตร มีบันไดขึ้นโบสถ์ด้านหน้าด้านหลังด้านละ 2 บันได ฐานกว้าง 14 เมตร ยาว 30 เมตร มีมุขเด็จทั้งด้านหน้าด้านหลัง มีเสา 4 แถว 5 ห้อง 2 แถว 2 ห้อง เสาโบสถ์ทำด้วยศิลาแลงแท่งใหญ่รูป 8 เหลี่ยม เสมาที่เหลืออยู่สลักเป็นรูปเทพพนมและอื่น ๆ ประกอบลวดลายสวยงาม ด้านหลังโบสถ์เป็นวิหารพระนอนรูปสี่เหลี่ยมกว้าง 25 เมตร มีเสา 6 แถว 6 ห้อง ผนังเจาะเป็นช่องลูกกรงยาว ๆ เสาวิหารรูปสี่เหลี่ยม ทั้งแท่งขนาดกว้างเมตรเศษ ยาว 4-5 เมตร เป็นของใหญ่โตที่หาดูได้ยากแห่งหนึ่ง


.........................................................
วัดอาวาสใหญ่
เป็นวัดที่ก่อสร้างใหญ่โต มีเจดีย์และวิหารมาก อยู่ริมถนนไปอำเภอพรานกระต่าย ห่างจากประตูโคมไฟไปทางเหนือประมาณ 3 กม. กำแพงวัดเป็นศิลาแลง กลางวัดมีฐานพระเจดีย์แปดเหลี่ยมใหญ่กว้างด้านละ 16 เมตร ด้านหน้าวัดอาวาสใหญ่ ริมถนนมีบ่อสี่เหลี่ยมใหญ่ขุดลงไปในพื้นศิลาแลงกว้าง 9 เมตร ยาว 17 เมตร ลึก 7-8 เมตร เรียกว่า "บ่อสามแสน" และตรงด้านหน้าเจดีย์ประธานด้านทิศเหนือ มีบ่อศิลาแลงขนาดใหญ่เช่นเดียวกัน นอกจากนี้ยังมีฐานวิหารทั้งใหญ่และเล็กรวม 10 วิหาร ฐานเจดีย์รวม 9 ฐาน วัดนี้อยู่ริมถนนสะดวกในการเข้าชม


.........................................................
วัดพระบรมธาตุ
เป็นวัดอยู่ริมแม่น้ำปิง ฝั่งตะวันตกกลางเมืองนครชุมมีเจดีย์แบบพม่าอยู่ 1 องค์ ด้านใต้มีพระอุโบสถ มีพระพุทธรูปสัมฤทธิ์สมัยสุโขทัย และอยุธยาอยู่หลายองค์ วัดนี้สันนิษฐานว่า เดิมคงเป็นเจดีย์ ทรงพุ่มข้าวบิณฑ์อย่างศิลปสุโขทัย แต่ปัจจุบันเป็นเจดีย์แบบพม่า เนื่องจากเศรษฐีพม่าผู้หนึ่งได้มาบูรณะไว้เมื่อประมาณ 100 ปีมาแล้ว
.........................................................
เมืองไตรตรึงส์
เมืองไตรตรึงส์ เป็นเมืองเก่าแก่ สร้างขึ้นในสมัยพระเจ้าไชยสิริกษัตริย์เชียงราย ซึ่งได้หนีข้าศึกจากเชียงรายลงมาสร้างเมืองนี้ขึ้น เมื่อ พ.ศ. 1542 ปัจจุบันโบราณสถานต่าง ๆ ทรุดโทรมลงมากเหลือเพียงซากเจดีย์และเชิงเทินเท่านั้น เมืองไตรตรึงส์ตั้งอยู่ที่ตำบลไตรตรึงส์ การเดินทางใช้เส้นทางสายกำแพงเพชร - คลองลาน ไปประมาณ 18 กม.
.........................................................
อุทยานประวัติศาสตร์กำแพงเพชร
ตั้งอยู่นอกเมืองกำแพงเพชรไปประมาณ 5 กม. ตามถนนสายกำแพงเพชร - พรานกระต่าย แล้วเลี้ยวซ้ายตรงกม.ที่ 360 อุทยานประวัติศาสตร์กำแพงเพชร ประกอบด้วยกลุ่มโบราณสถาน ขนาดใหญ่ ซึ่งจะเป็นศาสนสถานเป็นส่วนมาก เช่น วัดพระแก้ว วัดพระสี่อิริยาบถ วัดช้างล้อม ซึ่งนักท่องเที่ยวจะพบเทคโนโลยี่ในการสร้างสมัยโบราณ เช่น การใช้เสาศิลาแลงเป็นเสาค้ำอาคาร โดยเสาแต่ละต้นถูกสกัดขึ้นมาจากศิลาแลงใต้ดิน มีน้ำหนักต้นละไม่ต่ำกว่า 30 ตัน สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ เสด็จพระราชดำเนิน เป็นประธานในพิธีเปิดเมื่อวันที่ 18 เมษายน 2534 ค่าเข้าชมชาวไทย 10 บาท ชาวต่างประเทศ 40 บาท
.........................................................
ที่ทำการหน่วยศิลปากรประจำจังหวัดกำแพงเพชร
ที่ทำการหน่วยศิลปากรประจำจังหวัดกำแพงเพชร ตั้งอยู่เลยวัดพระแก้วไปตามเส้นทางกำแพงเพชร -พรานกระต่าย มีทางลูกรังแยกเข้าไปทางซ้ายมือ ตรงประตูสะพานโคมประมาณ 300 เมตร เป็นหน่วยงานที่รับผิดชอบการบูรณะขุดแต่งอุทยานประวัติศาสตร์กำแพงเพชร
.........................................................
วัดป่ามือ
ออกนอกกำแพงเมืองตรงประตูสะพานโคมด้านทิศเหนือไปตามถนนกำแพงเพชร-พรานกระต่าย ประมาณ 300 เมตร ตามถนนเดิมจะพบวัดอยู่ทางซ้ายมือ เรียกว่าวัดป่ามืด วัดนี้ยังไม่ได้ขุดแต่งและบูรณะ พื้นที่ทั่ว ๆ ไปยังเป็นป่าปกคลุมอยู่ โบราณสถานมีเจดีย์กลมแบบลังกา ด้านหน้าเป็นฐานเจดีย์ราย 4-5 แห่ง มีกำแพงล้อมรอบต่อจากกำแพงด้านหน้าเป็นโบราณสถานอีกหมู่หนึ่ง มีฐานเจดีย์และฐานวิหารและเจดีย์รอบอีก 7 ฐาน มีกำแพงรอบเช่นเดียวกัน
.........................................................
กำแพงป้อมทุ่งเศรษฐี
กำแพงป้อมทุ่งเศรษฐี ตั้งอยู่บนถนนพหลโยธิน ก่อนถึงตัวเมืองกำแพงเพชรเล็กน้อย จะเห็นกำแพงศิลาแลงเป็นป้อม มีใบเสมาเหลืออยู่ ป้อมก่อด้วยศิลาแลงกว้าง 83.5 เมตร รูปสี่เหลี่ยมสูงประมาณ 6 เมตร มีประตูทางเข้าตรงกลางป้อม 4 ด้าน ทางด้านในมีเชิงเทินพอเดินหลีกกันได้ ตรงฐานป้อมใต้เชิงเทินเป็นห้องมีทางเดินต่อต่อกันได้ ตรงมุมมีป้อมยื่นออก 4 มุม มีรูมองอยู่ติดกับพื้น การก่อสร้างป้อมนี้มีความมั่นคงมาก แต่ด้านทิศเหนือถูกรื้อออกเสียด้านหนึ่ง จึงเหลือเพียง 3 ด้าน บริเวณนี้มีวัดเก่าแก่หลายวัด เช่น วัดหนองพิกุล วัดซุ้มกอ วัดหนองลังกา เป็นต้น ที่สำคัญ ต่อนักเลงพระก็คือ เป็นบริเวณที่พบพระเครื่องลือชื่อของเมืองกำแพงเพชร เช่น พระซุ้มกอ ลีลาเม็ดขนุน ทุ่งเศรษฐี หรือกำแพงเขย่ง เป็นต้น
.........................................................
เมืองนครชุม
เมืองนครชุม เป็นเมืองโบราณอยู่ฝั่งตะวันออกของแม่น้ำปิง กำแพงเมืองเป็นมูลดินสูง 2-3 เมตร รูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า ยาวไปตามแม่น้ำปิง จากตะวันออกไปตะวันตก ภายในกำแพงเมืองมีวัดเก่าแก่อยู่ 2-3 วัด

วันพุธที่ 20 สิงหาคม พ.ศ. 2551













ล่องแก่งน้ำเข็ก

ที่ตั้ง

ลำน้ำเข็ก เป็นลำน้ำที่กำเนิดจากเทือกเขาเพชรบูรณ์ ในเขตอำเภอ เขาค้อ แล้วไหลผ่านอุทยานแห่งชาติทุ่งแสลงหลวง เป็นน้ำตกศรีดิษฐ์ น้ำตกแก่งโสภาที่เลื่องชื่อของพิษณุโลก น้ำตกปอย น้ำตกแก่งซอง และน้ำตกวังนกแอ่น แล้วไหลผ่านอำเภอวังทอง ก็ถูกเปลี่ยนชื่อเป็นแม่น้ำวังทอง ไปรวมกับแม่น้ำน่านที่อำเภอบางกระทุ่ม
ลักษณะลำน้ำ
เป็นลำน้ำขนาดไม่ใหญ่นัก ในช่วงหน้าฝน น้ำจะเปลี่ยนเป็นสีน้ำตาล และในช่วงหน้าแล้งจะเป็นสีเขียวใส ลำน้ำเข็กจะไหลคดเคี้ยวไปตามซอกเขาใหญ่น้อยตั้งแต่ เทือกเขาเพชรบูรณ์ จนผ่านเข้าสู่อุทยานแห่งชาติทุ่งแสลงหลวงจะมีเกาะแก่งมากมาย เช่น แก่งวังน้ำเย็น ในอุทยานแห่งชาติทุ่งแสลงหลวง ในเขตพื่นที่หน่วยหนองแม่นา และไหลเคียงคู่กับทางหมายเลข 12 ตามลำน้ำจะมีเกาะแก่งมากมาย ความรุนแรงของกระแสน้ำจะขึ้นอยู่กับระดับน้ำ ถ้าเป็นช่วงหน้าผนตกชุก ความรุนแรงของกระแสน้ำจะมากตามมาด้วย
จุดเด่นของลำน้ำ
ลำน้ำเข็ก เป็นลำน้ำที่สามารถนำเรือยางมาใช้ล่องแก่งได้อย่างสนุกสนาน เร้าใจตลอดเส้นทาง คือ ตั้งแต่บ้านปากยาง ตำบลทรัพย์ไพรวัลย์ อำเภอวังทอง ลงไปจนถึง น้ำตกแก่งซอง รวมระยะทาง 8 กิโลเมตร ใช้เวลาในการล่องแก่งไม่เกิน 3 ชั่วโมง แล้วแต่ระดับน้ำจะมากหรือน้อยซึ่งเป็นระยะเวลาที่ไม่นานเกินไป ตั้งแต่จุดเริ่มต้นล่องแก่ง จะพบกับแก่งต่าง ๆ ที่มีความรุนแรงตั้งแต่ระดับ 1 – 2 แล้วค่อย ๆ รุนแรงถึงระดับ 4 – 5 ในช่วงท้าย ๆ ทำให้มีเวลาซักซ้อมฝีพายก่อน และบางแก่งจะมีความยาวของแก่งต่อเนื่องกันเป็นระยะหลายร้อยเมตร การเดินทางมาล่องแก่งนี้มีความสำดวก เพราะว่าลำน้ำจะอยู่ใกล้ถนน คือ ลงจากรถยนต์ก็สามารถขึ้นแพยางได้เลย แล้วเมื่อถึงจุดขึ้นจากแพยางก็สามารถขึ้นรถต่อได้เช่นกัน ไม่ต้องเดินทางไกลเหมือนสถานที่อื่น ๆ
แก่งต่าง ๆ ในลำน้ำเข็ก
เมื่อเริ่มลงเรือยางจากท่าน้ำทรัพย์ไพรวัลย์ มาได้ไม่ไกลนัก ก็จะสัมผัสกับ
แก่งท่าข้าม

เป็นแก่งที่ไม่ใหญ่นักสามารถทำการฝึกการบังคับเรือความยากอยู่ที่ประมาณ 1 – 2 เท่านนั้น ในช่วงที่น้ำน้อย ก็มีโขดหินโผล่พ้นน้ำพอให้ออกกำลังกายพอหอมปากหอมคอผ่านพ้อนแก่งท่าข้ามจะพบน้ำนิ่งอยู่สักพัก สามารถกระโดดลอยคอเล่นได้ล่องแก่งไปสักหน่อยก็จะถึงแก่งไทร
แก่งไทร
เป็นแก่งที่มีความยากในระดับ 3 – 4 เมื่อผ่านสายน้ำนิ่งมาแล้วสายน้ำจะแยกออกเป็น 2 ทาง ทางซ้ายมือไม่สามารถล่องผ่านไปได้เพราะจะมีโขดหินใหญ่โผล่ออกมามากมาย และมีต้นไม้หนาแน่นจะต้องผ่านทางด้านขวาของสายน้ำซึ่งเป็นช่องทางไม่กว้างนักลักษณะของแก่ง คือ เมื่อเริ่มล่องแก่งได้ประมาณ 10 เมตรสายน้ำจะหักเลี้ยวซ้ายมือทันทีฝีพายทางด้านขวามือต้องทำงานค่อนข้างหนักจึงจะผ่านแก่งมรดกป่าได้
แก่งปากยาง

เมื่อล่องผ่านแก่งมรดกป่ามาได้ไม่ไกลนักจะได้ยินเสียงน้ำดังสนั่นอยู่ด้านหน้า เรียกว่า แก่งปากยาง ที่แก่งน้ำด้านซ้ายของสายน้ำ ฝีพายจะต้องยึดสายน้ำทางด้านซ้ายมือเอาไว้ ความยากของแก่งปากยางจะอยู่ในระดับ 2 – 3 แล้วแต่ความมากน้ำของกระแสน้ำก่อนจะหมด แก่งปากยางน้ำ จะมีน้ำตกเล็ก ๆ ที่ลดระดับของชั้นหินขวางอยู่ทั้งลำน้ำ มีความสูงต่างระดับกันประมาณ 1 เมตรกว่า ๆ ที่เรียกว่า แก่งหินลาด
แก่งหินลาด
จะเป็นช่วงสุดท้านของแก่งปากยางเป็นหินลดระดับลงห่างกันประมาณ 1 เมตร เมื่อล่องเรือยางมาถึงแก่งนี้แล้ว จะต้องยึดตัวให้อยู่บนเรือ ไม่เช่นนั้นอาจจะถูกกระแสน้ำซัดกระเด็นออกนอกเรือ หรือกระเด็นไปอยู่ที่ด้านหลังหรอด้านหน้าของเรือก็ได้ เมื่อผ่านแก่งนี้ไปได้สายน้ำจะลดความรุนแรงลง กลายเป็นสายน้ำนิ่งไหลเอื่อยอีกครั้ง
แก่งสวนรัชมังคลา
ไม่ไกลจากแก่งน้ำตกหลังสวนนัก จะพบกับทางแยกของสายน้ำอีกครั้ง สามารถไปได้ทั้งซ้ายและขวา แต่ขอแนะนำให้ล่องแพไปทางด้านชวาของสายน้ำจะสนุกตื่นเต้นกว่าทางด้านซ้าย ทางด้านขวาน้ำจะมีหินขวางอยู่กลางลำน้ำ ทำให้ได้สนุกสนานกับการบังคับเรือยางให้ผ่านพ้นไปช่วงปลาย ๆ ของแก่งนี้ จะมีความรุนแรงถึงระดับ 3 – 4 เลยทีเดียว ถ้าเป็นช่วงนี้น้ำขึ้นสูงมาก ๆ จะมียอดคลื่นสูงเกิน 1 เมตร
แก่งซาง

อยู่ไม่ไกลจากแก่งสวนรัชมังคลา ก่อนที่เรือจะถึงแก่งซางน้ำ สายน้ำจะค่อนข้างราบเรียบ ลักษณะของแก่งซางจะเป็นลานหินกว้างมาก และลดระดับลงในแต่ละช่วง กว่าจะสิ้นสุดแก่งซางนั้น สายน้ำก็ลดระดับลงไม่ต่ำกว่า 10 เมตร แก่งนี้จึงมีความยากในระดับ 4 – 5 เมื่อเรือยากล่องผ่านน้ำนิ่ง สายน้ำจะหักเลี้ยวซ้าย ทันทีที่เรือเลี้ยวมาตามสายน้ำ ก็จะได้พบกับความยิ่งใหญ่ของแก่งซาง ความรุนแรงของกระแสน้ำ ที่ลดหลั่นกันลงไปตามเชิงชั้นของแผ่นหินกระเซ้นแตกเป็นฟองกระจาย กว่าจะผ่านแก่งซางไปได้น้ำก็เข้ามาเต็วเรือทีเดียวเพราะฉะน้ำจะต้องบังคับเรือชิดทางด้านฝั่งซ้ายเอาไว้ ถ้าบังคับเรือมากลางสายน้ำ หรือด้านขวาของสายน้ำ ความรุนแกรงของกระแสน้ำจะพัดเรือไปกระแทกหินทางด้านฝั่งขวา อาจจะทำให้เรือพลิกคว่ำได้ แก่งซางนี้จึงนับได้ว่าเป็นแก่งที่ค่อนข้างอันตราย จะต้องนั่งแล้วพยายามยึดตัวเองให้อยู่ในเรือ
แก่งโสภาราม

เป็นแก่งหักศอกรูปตัว S ความรุนแรงของกระแสน้ำไม่รุนแรงมากนัก แต่จะโค้งหักศอก
แก่งนางคอย
ลักษณะของแก่งนางคอยจะเป็นการลดระดับของชั้นหิน และกระแสน้ำจะมีความสูงเกือบ 2 เมตร ความยากจะอยู่ในระดับ 4-5 การลดระดับของชั้นหินนั้นจะเอียงจากทางด้านขวาของสายน้ำไปทางด้านซ้ายในแนวเฉียง จึงทำให้เพิ่มความยากขึ้นไปอีก ควรจอดเรือตรงลานหินเหนือแก่ง แล้วเดินไปตรวจดูสภาพของแก่งเสียก่อนว่าควรจะนำเรือยางไปตามล่องน้ำด้านไหน แต่ขอแนะนำให้ลงทางด้านซ้าย แต่ไม่ใช่ซ้ายสุด เพราะทางด้านซ้ายสุด ด้านล่างของแก่งจะมีก้อนหินใหญ่อยู่ 2 กันแพอาจจะพลิกคว่ำได้ ถ้าล่องผ่านแก่งนางคอยแล้วสามารถบังคับเรือกลับไปล่องน้ำด้านขวามือสุดจะเป็นร่องน้ำเล็ก ๆ ก็จะสามารถนำเรือขึ้นไปล่องลนแก่งนางคอยได้อีก ถ้าต้องการเพิ่มความสนุกสนาน
แก่งยาว

แก่งยาวจะมีความยาวกว่า 100 เมตร สมกับชื่อของแก่งกว่าจะล่องผ่านแก่งยาวไปได้ก็สะบักสะบอมกันเอาเรื่องทีเดียว ลักษณะของแก่งยาวจะเป็นแก่งที่สายน้ำจะผ่านโขดหินมากมาย และจะค่อย ๆ ลดระดับลาดเอียงลงสู่ด้านหน้าของแก่งควรจะบังคับเรือยางให้เข้าร่องน้ำทางด้านซ้ายก่อนจะสิ้นสุด ปลายแก่งจะมีก้อนหินใหญ่ขวางอยู่ต้องบังคับเรือหลบหลีกให้ทัน ไม่เช่นนั้นเรืออาจจะกระแทกกับหินทำให้เกิดอันตรายได้ ความยากของแก่งนี้จะอยู่ในระดับ 3 - 4 แล้วแต่ระดับของน้ำ
เมื่อล่องแพผ่านทั้งแก่งซางแก่งนางคอย และแก่งยาวมาได้แล้วแก่งต่าง ๆ ที่ยังเหลืออยู่ก็ไม่ใช่เป็นแก่งที่ยาก ไม่ว่าจะเป็นแก่งคงสัก หรือแก่งวังน้ำเย็น ที่มีความยากในระดับ 1 – 2 เท่านั้น สามารถลงไปลอยคอผ่อนคลายกล้ามเนื้อให้เย็นสบาย จนถึงจุดขึ้นฝั่งที่แก่งทักขุนไทได้อย่างสนุกสนานทีเดียว รวมแล้วผ่านมา 18 แก่ง
ข้อควรระวังในการล่องแพลำน้ำเข็ก
ลำน้ำเข็กค่อนข้างจะมีความรุนแรงเชี่ยวกรากในช่วงฤดูฝนที่มีฝนตกชุก นักท่องเที่ยวจะไม่สามารถลงเล่นน้ำตกต่าง ๆ ได้ แต่ในช่วงฤดูฝนนั้นนักท่องเที่ยวสามารถเล่นเรือยางล่องแก่งต่าง ๆ ได้อย่างสนุกสนานเร้าใจเป็นอย่างมาก แต่นักท่องเที่ยวที่จะมาล่องแก่งที่ลำน้ำเข็กนั้นควรจะต้องว่ายน้ำเป็น มีร่างกายและใจที่พร้อม และรู้จักระมันระวังตนเองเพราะสายน้ำแห่งนี้ยิ่งมีกระแสน้ำรุนแรงเท่าใด อุบัติเหตุก็อาจเกิดขึ้นได้มากยิ่งขึ้น
ฤดูกาลล่องแก่งที่เหมาะสม
ตั้งแต่เดือนกรกฎาคม – ตุลาคม ต้องดูปริมาณฝนตกอีกครั้ง ถ้าฝนตกชุก ระดับน้ำขึ้นสูงมาก ความรุนแรงของกระแสน้ำจะอยู่ตั้งแต่ระด

วันพุธที่ 13 สิงหาคม พ.ศ. 2551



อำเภอหนองบัว

เขาพระ
ตั้งอยู่ที่ตำบลหนองกลับ อำเภอหนองบัว บริเวณโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริ ของสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ ์พระบรมราชินีนาถ ไปตามเส้นทางหมายเลข 225 ห่างจากตัวจังหวัดประมาณ 80 กม. ห่างจากตัวอำเภอ 7 กม. ตาม ถนนสายหนองบัว - เหมืองแร่ การคมนาคมสะดวกทุกฤดูกาล เขาพระนี้เป็นเขาหินแกรนิตสีชมพูทั้งภูเขา บนยอดเป็นท ประดิษฐานพระพุทธรูปปางเชียงแสน และรอยพระพุทธบาทที่ชาวบ้านให้ความนับถือมาก มีสวนหินกว้าง ประมาณ 50 ตารางวา มีถ้ำลึกประมาณ 30 เมตร กว้าง 2 เมตร เป็นที่อาศัยของค้างคาวจำนวนมาก มีจุดชมวิวหลายจุด ซึ่งล้วนแต ่มีทิวทัศน์ที่สวยงามยากจะลืมเลือน การขึ้นไปสู่หินก้อนสูงสุดบนยอดเขา ต้องปีนป่านไปตามกอนหินขนาดใหญ่ ต้องผ่าน ซอกเล็กๆ กว้างประมาณ 1 ฟุต เป็นรายหินสองก้อนชนกันแตาไม่สนิท คนที่จะผ่านช่องหินนี้ได้ ไม่ว่า อ้วนหรือผอม ถ้ามี บุญตั้งจิตอธิษฐานก็สามารถลอดผ่านไปได้ทุกคน เป็นเรื่องน่าอัศจรรย์ เขาพระจึงเหมาะสำหรับนักท่องเที่ยวที่ชื่นชอบการ พจญภัยอย่างแท้จริง